ปั๊มสูบสารเคมี (Chemical Pump) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งหรือสูบส่งสารเคมีจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยปลอดภัย โดยปั๊มเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับสารเคมีที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ความเป็นกรด-ด่าง ความหนืด และความกัดกร่อน ซึ่งสามารถใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการบำบัดน้ำ เป็นต้น
ความสำคัญ
ปั๊มสูบสารเคมีมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี การขนส่งสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายสูงต้องอาศัยอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย เพื่อป้องกันการรั่วไหลและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ช่วยการดูแลความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตการใช้ปั๊มสูบสารเคมีที่มีคุณภาพจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ลักษณะปั๊มสูบสารเคมี
ปั๊มสูบสารเคมีมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น
ปั๊มไดอะแฟรม (Diaphragm Pump) เหมาะสำหรับการสูบส่งสารเคมีที่มีความหนืดสูงหรือมีส่วนผสมของของแข็งเล็กน้อย
ปั๊มแม่เหล็ก (Magnetic Drive Pump) ใช้ในการสูบส่งสารเคมีที่เป็นอันตรายและต้องการความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่มีการสัมผัสโดยตรงระหว่างชิ้นส่วนของปั๊ม
ปั๊มลูกสูบ (Piston Pump) เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการแรงดันสูง
ตัวอย่างการใช้ปั๊มสูบสารเคมีในงานอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยา ใช้ในการจ่ายสารเคมีที่ต้องการความแม่นยำสูง เพื่อผลิตยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
อุตสาหกรรมเคมี ใช้ในการขนส่งสารเคมีที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง และต้องการป้องกันการกัดกร่อน
อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ในการจ่ายส่วนผสมเช่น สารเติมแต่ง สี และรส เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ปัจจัยการเลือก
ในการเลือกปั๊มสูบสารเคมี ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ชนิดของสารเคมี ควรเลือกปั๊มที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของสารเคมี เช่น ความเป็นกรด-ด่าง ความหนืด และความกัดกร่อน
อัตราการไหล คำนวณอัตราการไหลที่ต้องการและเลือกปั๊มที่สามารถรองรับได้
ความปลอดภัย ควรเลือกปั๊มที่มีการออกแบบเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี
ความคงทน คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตปั๊ม เช่น เหล็กสแตนเลส หรือวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อน
ราคาและการบำรุงรักษา พิจารณาราคาของปั๊มและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
DDC และ DDE คืออะไร ใช้งานยังไง
DDC (Digital Dosing Controller) และ DDE (Digital Dosing Enhanced)
คือระบบที่ใช้ในการควบคุมและจ่ายสารเคมีด้วยความแม่นยำสูง โดยแต่ละประเภทต่างก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
DDC (Digital Dosing Controller)
ใช้สำหรับการควบคุมปริมาณการจ่ายสารเคมีในอัตราที่กำหนด โดยเราขอแนะนำเครื่อง DDC จาก Grundfos โดยมีคุณสมบัติดังนี้
สูงสุด 15 ลิตร/ชั่วโมง และ 10 บาร์
ปรับอัตราส่วนได้มากถึง 1:1000
โหมดการทำงานมาตรฐาน เช่น Pulse และ Analog เป็นต้น
Slow Mode สำหรับของเหลวที่มีความหนืดสูง
2 Relay outputs
DDE (Digital Dosing Enhanced)
จะเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการตั้งค่า ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายสารเคมีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การจ่ายแบบต่อเนื่อง หรือเป็นช่วง ๆ ระบบนี้มักใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำในการจ่ายสารเคมี เช่น อุตสาหกรรมยาและอาหาร โดยเราขอแนะนำเครื่อง DDE จาก Grundfos โดยมีคุณสมบัติดังนี้
สูงสุด 15 ลิตร/ชั่วโมง และ 10 บาร์
ปรับอัตราส่วนได้มากถึง 1:1000
ตั้งค่าการจ่ายสารได้ 0.1-100 %
สั่งหยุดจากภายนอกและแสดงสัญญาณเตือนเมื่อสารเคมีในถังหมด จุดเด่น