top of page

ปั๊มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง | ความรู้พื้นฐานของปั๊มน้ำแต่ละประเภท


ปั๊มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง | ความรู้พื้นฐานของปั๊มน้ำแต่ละประเภท

สำหรับปั๊มหรือเครื่องสูบ เป็นอุปกรณ์ทําหน้าที่เพิ่มพลังงานให้แก่ของไหล เพื่อทําให้ของไหลเคลื่อนที่จากตําแหน่งหนึ่งไปยังตําแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่าหรือในระยะทางที่ไกลออกไป โดยอาศัยพลังงานจากเครื่องยนต์ มอเตอร์แรงลม แรงคนหรือแหล่งพลังงานอื่นๆ ถ้าของไหลที่สูบเป็นน้ำหรือของเหลว จะเรียกว่าปั๊มหรือเครื่องสูบ แต่ถ้าของไหลเป็นอากาศ จะเรียกว่าเครื่องอัดอากาศ (Compressor) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเฉพาะในส่วนของปั๊มของของเหลว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งน้ำออกไปเพื่อการอุปโภคบริโภค ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงการบําบัดน้ำเสียอีกด้วย ซึ่งหากแยกปั๊มออกตามลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวในปั๊ม จะแบ่งได้ดังนี้


ปั๊มแรงเหวี่ยง (Centrifugal)

ปั๊มแรงเหวี่ยง หรือที่นิยมเรียกกัว่า “ปั๊มหอยโข่ง” เป็นปั๊มน้ำที่นิยมใช้กันแพร่หลาย หลัการทำงานคือ ตัวปั๊มจะเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง หรือบางครั้งจะเรียกว่ากันว่า แบบ Rotodynamic ซึ่งนิยมใช้ในการสูบน้ำ สารหล่อลื่น สารละลายเคมีต่างๆ สามารถทํางานที่ระดับความดันสูงได้ ชิ้นส่วนที่หมุนอยู่ภายในตัวปั๊ม จะทําให้เกิดการขับดันของไหลที่เรียกว่า โรเตอร์ หรือ ใบพัด (Impeller) ปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางสามารถแบ่งได้หลายแบบ ดังนี้

ปั๊มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง | ความรู้พื้นฐานของปั๊มน้ำแต่ละประเภท

แบบ Volute เป็นปั๊มประเภทแรงดันต่ำให้ความดันด้านปล่อยน้อยกว่า 30 เมตรของน้ำ

แบบ Diffuser เป็นปั๊มแรงดันปานกลาง มีลักษณะคล้ายกันกับปั๊มแบบ Volute แต่มีแผ่นกระจายของไหล (Guide vane) ติดอยู่รอบๆ เรือนของปั๊มและยังทําหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลของของไหล เพื่อทําให้เกิดความดันที่สูงขึ้น

แบบ Regenerative Turbine เป็นปั๊มประเภทแรงดันสูง ภายในมีชุดใบพัดหลายใบติดอยู่บนเพลาเดียวกัน ซึ่ง ใบพัด 1 ชุดเรียกว่า 1 สเตจ ของไหลที่ถูกสูบ เมื่อไหลออกมาจากสเตจที่หนึ่งก็จะถูกส่งไปยังสเตจต่อไป

แบบ Axial Flowเป็นปั๊มที่ของไหลจะไหลในแนวแกนของเพลาขับ สามารถใช้ได้กับของไหลที่มีสารแขวนลอย นิยมใช้กันมากในโรงงานที่ต้องการเฮดความดันต่ำ แต่มีอัตราการไหลสูง

แบบ Mixed Flowเป็นปั๊มที่ทําให้การไหลทั้งในแนวแกนและแนวรัศมีของใบพัด เกิดแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยในการขับดันของของไหล นิยมใช้กับงานที่ต้องการเฮดความดันต่ำๆ แต่มีอัตราการไหลสูง


ปั๊มโรตารี่ (Rotary)

ปั๊มโรตารี่เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง ของเหลวจะถูกดูดเข้าและปล่อยออก โดยการหมุนรอบจุดศูนย์กลางของเครื่องมือกล ซึ่งมีช่องว่างให้ของเหลวไหลเข้าทางด้านดูดและเก็บอยู่ระหว่างผนังของห้องสูบกับชิ้นส่วนที่หมุนหรือที่เรียกว่า โรเตอร์ จนกว่าจะถึงด้านจ่าย การหมุนของโรเตอร์ ทําให้เกิดการแทนที่ ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาตรของของเหลว (Positive Displacement) ให้ทางด้านจ่าย

ปั๊มโรตารี่ชนิดเฟือง (Gear Pump) เป็นชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ประกอบด้วยฟันเฟืองหรือเกียร์สองตัวหมุนขบกันในห้องสูบ ของเหลวทางด้านดูดจะไหลเข้าไปอยู่ในร่องฟันเฟือง ซึ่งจะหมุนและพาของเหลวเข้าไปสู่ทางด้านจ่าย


ปั๊มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง | ความรู้พื้นฐานของปั๊มน้ำแต่ละประเภท

ปั๊มโรตารี่ชนิดครีบ (Vane Pump) ปั๊มชนิดนี้มีห้องสูบเป็นรูปทรงกระบอกและมีโรเตอร์เป็นทรงกระบอกเหมือนกัน จะวางเยื้องศูนย์ให้ผิวนอกของโรเตอร์สัมผัสกับผนังของห้องสูบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างทางดูดและทางด้านจ่าย รอบๆ โรเตอร์จะมีครีบเลื่อนได้ในแนวเข้าออกจากจุดศูนย์กลางมาชนกับผนังของห้องสูบ เมื่อโรเตอร์หมุนครีบเหล่านี้ จะทำให้ถูกกวาดเอาของเหลว ซึ่งอยู่ระหว่างโรเตอร์กับห้องสูบไปสู่ทางด้านจ่าย ซึ่งจะมีข้อดีกว่าชนิดเฟือง นั่นก็คือ การสึกหรอของผนังห้องสูบหรือหลายครีบจะไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานมากนัก เพราะครีบสามารถเลื่อนออกมาจนชนกับผนังของห้องสูบได้สนิทพอดี

ปั๊มโรตารี่ชนิดลอน (Lobe Pump) จะมีลักษณะคล้ายกันกับชนิดเฟือง แต่โรเตอร์มีลักษณะเป็นลอน จำนวน 2 ถึง 4 ลอน ช่องว่างระหว่างลอนจะมีลักษณะแบนและกว้าง อัตราการสูบจึงสูงกว่า แต่การถ่ายทอดกําลังหมุนของชนิดลอน จะมีประสิทธิภาพต่ำมาก จึงจําเป็นต้องมีเฟืองนอกห้องสูบอีกเพิ่มชุดหนึ่ง เพื่อช่วยให้จังหวะการหมุนของโรเตอร์

ปั๊มโรตารี่ชนิดสว่าน (Screw Pump) ปั๊มชนิดนี้จะเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยโรเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเหมือนสว่านที่หมุนในลักษณะขับดันให้ของเหลวเคลื่อนที่ไประหว่างรองเกลียวสว่านกับผนังของห้องสูบจากทางดูดไปสู่ทางจ่าย จํานวนสว่านหรือโรเตอร์อาจมีได้ตั้งแต่ 1 ถึง 3 ตัว


ปั๊มแบบเลื่อนชักหรือลูกสูบชัก (Reciprocating)

เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการอัดโดยตรงจากในกระบอกสูบ มีลักษณะการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา โดยมีลูกสูบที่ทําหน้าที่ในการอัดของไหลภายในกระบอกสูบให้มีความดันสูงขึ้น เหมาะสําหรับสูบของไหลในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ต้องการเฮดในระบบที่สูง ของเหลวที่สูบมาจะต้องมีความสะอาด ไม่ทําให้ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ภายในกระบอกสูบเกิดการสึกหรอ การอัดตัวของของไหลแต่ละครั้งจะไม่ต่อเนื่อง ทําให้การไหลของของไหลมีลักษณะเป็นแบบ Pulsation

แบบขับดันโดยตรง ใช้น้ำมันไฮดรอลิกส์หรือไอน้ำเป็นตัวเพิ่มพลังงานให้กับลูกสูบเคลื่อนที่อัดของไหลให้มีความดันสูงขึ้น มีทั้ง แบบลูกสูบเดี่ยว (Simplex)และแบบ Duplex


ปั๊มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง | ความรู้พื้นฐานของปั๊มน้ำแต่ละประเภท

แบบกําลัง (Power)พลังงานจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์จะเป็นเครื่องต้นกําลังให้กับปั๊ม โดยถ่ายทอดกําลังผ่านสายพานหรือเพลาที่ความเร็วคงที่ ปั๊มชนิดนี้จะสูบของไหลได้ในอัตราที่เกือบคงที่ ให้แรงดันขับที่สูง ดังนั้นจะต้องติดตั้งส่วนของ ลิ้นระบายความดัน เพื่อช่วยป้องกันระบบท่อส่งและตัวปั๊มไม่ให้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากแรงดันที่สูงเกินไป

แบบไดอะแฟรม ปั๊มชนิดนี้จะมีแผ่นไดอะแฟรมที่ทําด้วยอโลหะ ซึ่งมีความยืดหยุ่นและแข็งแรง ทําหน้าที่ในการดูดและอัดของไหลให้มีความดันสูงขึ้น แผ่นไดอะแฟรมจะถูกยึดติดอยู่กับที่ นิยมใช้กับงานที่อัตราการสูบไม่มากนักและของไหลมีสารแขวนลอยปะปนมาด้วย


ปั๊มแบบพิเศษ (Specialized pumps)

เป็นปั๊มที่มีลักษณะพิเศษนอกเหนือไปจากปั๊มแบบอื่นๆ ปัจจุบันปั๊มแบบพิเศษมีใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น

แบบ Canned มีคุณสมบัติพิเศษกว่าแบบอื่นๆ นั่นก็คือ สามารถป้องกันการรั่วไหลของของไหลได้อย่างสมบูรณ์ ภายในเรือนปั๊มจะมี Imprller Rotor หมุนขับดันของไหล โดยได้รับกําลังจากมอเตอร์

แบบ Intermediate Temperature จะใช้ในการขับดันของไหลที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ 3000 องศาเซลเซียส ชิ้นส่วนภายในปั๊มถูกออกแบบมาพิเศษ เพื่อให้สามารถทนทานต่อความร้อนสูงจากที่ไหลจากของไหลที่จะใช้สูบได้

แบบ Turboจะเป็นการรวมเอากังหันไอน้ำ มาใช้ในการขับเคลื่อนปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง นิยมใช้กับงานที่ต้องการความดันด้านปล่อยสูง มีทั้งแบบ 1 สเตจและ 2 สเตจ

แบบ Cantilever จะติดตั้งในแนวดิ่ง ใช้กับงานที่ไม่ต้องการให้ชุดแบริ่งหรือชิ้นส่วนภายในสัมผัสกับของไหลที่ใช้ในการสูบ เนื่องจากปั๊มชนิดนี้ ได้ถูกออกแบบมาให้ชุดใบพัดยึดติดกับเพลาขับโดยไม่มีแบริ่งในตัวปั๊ม

แบบ Vertical Turbine มักนิยมใช้กันในงานสูบน้ำบาดาลที่มีความลึกมาก จึงมีหลายสเตจในเพลาขับเดียวกัน เพื่อเพิ่มความดันของของไหลให้มีค่าสูงขึ้น ทําให้สามารถสูบน้ำจากก้นบ่อที่มีความลึกมาสู่ปากบ่อได้

Agriculture

Agri_xl.jpg

Water System

Water_xl.jpg

Machine Tools

Machine_Tools_xl.jpg

Railway Solution

Railway_xl.jpg
bottom of page